อนุบาล

Intensive English Program


การเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ อยู่บนพื้นฐานที่ว่าการเรียนรู้ของคนเกิดจากความสมดุลของความคิด ความรู้สึก และเจตจำนงของผู้เรียน อยู่ในบรรยากาศแห่งความต้องการ ความรู้สึกสบายใจ ความผ่อนคลาย เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนถ่ายทอดความคิดและการเรียนรู้อย่างแยบคลายร่วมไปกับการทำกิจกรรมที่เขากระทำอยู่โดยสร้างสถาพแวดล้อมเสมือนนักเรียนอยู่ใกล้ชิดกับคุณพ่อคุณแม่ คุณครูดูแลเสมือนแม่ดูแลลูก

ผู้เรียนเป็นสำคัญผ่านการเรียนรู้แบบบูรณาการจากการเล่นและกิจกรรมที่เน้นประสบการณ์ตรงผ่านประสาทสัมผัสทั้ง  5 พัฒนาการเด็กทุก ๆ ด้านไปพร้อม ๆ กันอย่างสมดุล รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาหน้าที่บริหารจัดหารของสมอง (Executive functions :EFs)

·       มุ่งให้ผู้เรียนได้นำความรู้จริงไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต ผ่านกิจกรรมการสอนแบบโครงการ (Project  Approach) มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว และตอบสนองตามความต้องการที่หลากหลาย โดยเป็นกิจกรรมเชิงปฏิบัติที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือทำได้ด้วยตัวเอง

·       เสริมสร้างทักษะทางภาษาโดยจัดให้เรียนภาษาอังกฤษเข้มข้น สอนภาษาอังกฤษด้วย ครูต่างชาติสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง

Mini International Program


การเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ อยู่บนพื้นฐานที่ว่าการเรียนรู้ของคนเกิดจากความสมดุลของความคิด ความรู้สึก และเจตจำนงของผู้เรียน อยู่ในบรรยากาศแห่งความต้องการ  ความรู้สึกสบายใจ ความผ่อนคลาย เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนถ่ายทอดความคิดและการเรียนรู้อย่างแยบคลายร่วมไปกับการทำกิจกรรมที่เขากระทำอยู่โดยสร้างสถาพแวดล้อมเสมือนนักเรียนอยู่ใกล้ชิดกับคุณพ่อคุณแม่ คุณครูดูแลเสมือนแม่ดูแลลูก

ผู้เรียนเป็นสำคัญผ่านการเรียนรู้แบบบูรณาการจากการเล่นและกิจกรรมที่เน้นประสบการณ์ตรงผ่านประสาทสัมผัสทั้ง  5 พัฒนาการเด็กทุก ๆ ด้านไปพร้อม ๆ กันอย่างสมดุล รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาหน้าที่บริหารจัดหารของสมอง (Executive functions :EFs)

·       มุ่งให้ผู้เรียนได้นำความรู้จริงไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต ผ่านกิจกรรมการสอนแบบโครงการ (Project  Approach) มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว และตอบสนองตามความต้องการที่หลากหลาย โดยเป็นกิจกรรมเชิงปฏิบัติที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือทำได้ด้วยตัวเอง

·       มีคุณครูประจำชั้นเป็นครูต่างชาติ และจัดกิจกรรมในการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษ และมีการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษตลอดทั้งวัน ยกเว้นการเรียนรู้ในภาษาไทย ว่ายน้ำ ดนตรี คอมพิวเตอร์ และเทควันโด้

Umbrella School


เป็นทางเลือกการจัดการเรียนรู้ให้กับลูก ๆ ของพ่อแม่ที่ยังมีความกังวลส่งลูกเข้าเรียนในโรงเรียน ด้วยสถานการณ์ การแพร่ระบาดโควิด-19 ในปัจจุบันยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โรงเรียนประสานมิตรจึงจัดโครงการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่สามารถให้พ่อแม่พัฒนาการเรียนรู้ให้กับลูกที่ต้องพัฒนาทางร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และสติปัญญา ตั้งแต่อายุ 3-12 ปี พ่อแม่สามารถจัดรูป แบบการเรียนที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและของแต่ละครอบครัวภายใต้การดูแลและรับรองของโรงเรียนประสานมิตร โดยโรงเรียนให้คำแนะนำร่วมออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้กับพ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถเลือกที่จะมาโรงเรียนบางเวลาเพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ด้านสังคมกับเพื่อนๆวัยเดียวกันพ่อแม่และโรงเรียนเป็นผู้ร่วมประเมินผลการเรียนรู้ ตามแผนการเรียนรู้ที่ปรึกษาร่วมกัน พ่อแม่ได้รับความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาลูกๆ ผ่านห้องเรียนพ่อแม่เดือนละ 1 ครั้ง
การจัดการเรียนรู้รูปแบบ Umbrella home school ที่จะทำให้ลูก ๆ ของท่านอยู่ในระบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตตามวัยและมีสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว

นวัตกรรม 5E


นำแนวคิดการนิเทศภายในสถานศึกษา การให้คำปรึกษาแบบซาเทียร์ การนิเทศแบบโค้ชชิ่งและทฤษฎีการเรียนรู้ของครูผู้สอน มาเป็นหลักการในการแก้ไขปัญหาการนิเทศของโรงเรียนประสานมิตร และมีการเชื่อมโยงแนวคิด ทฤษฎีสู่การปฏิบัติอย่างถูกต้อง โดยที่ประชุมได้สังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เลือกหลักการนิเทศและหลักการ The Five Essential Elements of Transformational Change จากแนวคิดการให้คำปรึกษาของซาเทียร์โมเดล มีความสอดคล้องกับกระบวนการนิเทศแบบโค้ชชิ่งที่ให้ความสำคัญการเรียนรู้สำหรับครูผู้สอน ผู้บริหารดำเนินการให้จัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจแนวคิด ทฤษฎี และฝึกการอบรมปฏิบัติจริงตามหลักการของแนวคิดที่คัดเลือกมา จัดให้ครูมีชุมชนการเรียนสู่ความเป็นมืออาชีพ PLC ในการเข้าใจกระบวนการ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างครู ติดตามและสะท้อนคิดการเรียนรู้ที่ได้จากการอบรมและลงมือทดลองปฏิบัติ รวมถึงกำหนดรูปแบบในการแก้ไขหรือพัฒนา ด้วยวงจรคุณภาพ PDCA จัดทำคู่มือนิเทศภายในสถานศึกษาด้วยหลักการ 5E สู่การพัฒนาทักษะของครูในการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน

นิยามของหลักการ 5E ที่ใช้ในการนิเทศ

Energy life การนิเทศแบบสอดคล้องกลมกลืนระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศ

พลังงานที่ใช้ในการดำรงชีวิตด้วย คุณค่าและความสามารถที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้อย่างมีชีวิตชีวา มีวิธีการสร้างโดยผู้นิเทศตระหนักถึงความสอดคล้องกลมกลืนในตัวเอง เชื่อมโยงกับปัญญาญาณของพลังชีวิต และสามารถเชื่อมโยงกับระดับพลังชีวิตของผู้รับการนิเทศได้ ทำให้ผู้รับการนิเทศรู้สึกถึงความห่วงใย การยอมรับ ผู้นิเทศที่เชื่อมโยงกับพลังชีวิตของตนเอง จะส่งผลให้ผู้รับการนิเทศได้รับการช่วยเหลือให้มีความสามารถทำงานกับผลกระทบที่ยากลำบากได้

Elevation การนิเทศมุ่งที่การเปลี่ยนแปลง

ผู้นิเทศช่วยให้ผู้รับการนิเทศเกิดการเปลี่ยนแปลงจากการตระหนักรู้ของผู้รับการนิเทศ ด้วยคำถามที่สร้างความคาดหวังว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นไปได้ คำถามมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงผลกระทบต่อการจัดการการเรียนการสอน ค้นหาความต้องการแท้จริงในตัวตนของผู้รับการนิเทศที่จะช่วยให้ผู้รับการนิเทศสร้างแรงบันดาลใจในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการเรียนการสอนของตนเอง

Effective system การนิเทศอย่างเป็นระบบ

การนิเทศอย่างเป็นระบบทั้งภายในจิตใจและปฏิสัมพันธ์ ระบบภายในจิตใจ หมายถึงสภาวะที่ผู้รับการนิเทศ สัมผัสความรู้สึก ความคิด ความเชื่อ ความต้องการ ความปรารถนา และพลังชีวิต สัมผัสกับผลกระทบของเหตุการณ์หรือสถานการณ์ ระบบปฏิสัมพันธ์ หมายถึงความสัมพันธ์ตั้งแต่อดีต และปัจจุบัน ที่มีต่อตนเองรวมถึงความสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งรวมถึงความสัมพันธ์ภายในจิตใจที่บุคคลมี แม้กับบุคคลที่ไม่อยู่แล้ว การเปลี่ยนแปลงที่เป็นระบบต้องเกิดขึ้นในระบบภายในจิตใจก่อนการเกิดขึ้นในระบบปฏิสัมพันธ์ ผู้นิเทศช่วยให้ผู้รับการนิเทศ ตระหนักรู้ทั้งจิตใจและร่างกายถึงความสำคัญการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอน จะช่วยให้ผู้รับการนิเทศสามารถปรับตัวและพัฒนาวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี

Experiential ผู้รับการนิเทศสัมผัสถึงประสบการณ์เดิม

ผู้นิเทศชี้แนะให้ผู้รับการนิเทศสัมผัสผลกระทบจากอดีตได้ในปัจจุบัน การเข้าใจในผลกระทบของเหตุการณ์ ทั้งความรู้สึก ความหมาย และความจำของร่างกาย จะส่งผลต่อการประเมิน การตั้งเป้าหมาย กระบวนการเปลี่ยนแปลง และการยึดมั่นในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงด้วยตัวผู้รับการนิเทศเอง จึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในและเกิดพลังชีวิตที่เพิ่มมากขึ้น ช่วยให้ผู้รับการนิเทศได้รับการตอกตรึงสิ่งที่ต้องได้การปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอน

Encouragement การนิเทศในทิศทางในเชิงบวก

ผู้นิเทศช่วยให้ผู้รับการนิเทศตระหนักรู้มุมมองใหม่เชิงบวก ด้วยการตั้งคำถามจากผู้นิเทศที่มุ่งเน้นความเป็นไปได้ในเชิงบวกตลอดระยะเวลาการนิเทศ เปลี่ยนมุมมองผู้รับการนิเทศเมื่อพบว่าเป็นลบ ให้เห็นความเป็นไปได้ในเชิงบวกใหม่ ๆ สร้างความหวังและค้นหาความต้องการที่แท้จริง ที่เป็นพลังงานทางบวกจนสามารถเชื่อมโยงกับค่าพลังชีวิตได้ ทำให้ผู้รับการนิเทศมีเจตคติที่ดีต่อการนิเทศ สามารถนำข้อเสนอแนะไปพัฒนาตนเอง